สุขภาพกับการใช้งานเทคโนโลยี
สุขภาพกับการใช้งานเทคโนโลยี
การนั่งนิ่งๆเป็นเวลานาน หากท่านั่งไม่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย อาจทำให้เกิดการโค้งงอผิดรูปของกระดูกได้ บางท่าทำให้เกิดการตึง ยึด ปวดคอ ไหล่ และหลัง อาการแบบนี้เรียกว่า "ออฟฟิศซินโดรม" (Office syndrome) อาการแบบนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนท่านั่งและพฤติกรรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
สายตา
ปรับระดับให้ขอบจอด้านบนอยู่ที่ระดับสายตา จนไม่รู้สึกว่าก้มหรือเงยมากเกินไป
ข้อมือ
วางบนแป้นพิมพ์โดยไม่บิดงอขึ้นหรือกดตำเกินไป
ขา
วางเข่าให้ตั้งฉากกับพื้น โดยให้เข่าวางราบกับพื้นให้หาสิ่งของมาหนุน
เก้าอี้
ควรมีพนักพิงและปรับระดับความสูงให้สามารถวางเท้าราบกับพื้นโดยให้มือวางอยู่ในระดับเดียวกับแป้นพิมพ์
แขน
วางแขนให้ตำแหน่งข้อศอกแนบใกล้กับลำตัว
หลัง
นั่งหลังตรง ไม่โน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อให้มองเห็นหน้าจอได้ถนัด
การใช้สายตาจ้องหน้าจอมือถือ หรือจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน อาจเสี่ยงโรคคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม (Computer Vision Syndrome :CVS) หรือโรคซีวีเอส เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา หากอ่านหนังสือหรือจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน อัตรากะพริบตาจะลดลง ประกอบการสะท้อนแสงจอคอม ทำให้ตาล้า ทั้งแสงจ้า แสงสว่างไม่พอ ระยะห่างจากจอคอมไม่เหมาะสม โรคซีวีเอสมีกมีอากรปวดตา ตาแห้ง แสบตา ตามัว ปวดหัว ปวดคอและบ่า
จัดทำโดย
นางสาวจิรนันท์ ชื่นบาน ชั้น ม.6/1 เลขที่ 20
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น